พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สังกัดกรมศิลปากร แต่เดิมนั้นคือ พิพิธภัณฑ์เขื่อนขุนด่านปราการชล ที่ก่อตั้งขึ้นจากแนวพระราชดําริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อมาพิพิธภัณฑ์มีสภาพทรุดโทรม สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ หรือ กปร. และกรมศิลปากรได้ดำเนินการปรับปรุงอาคารและการจัดแสดงภายใน ต่อมาเมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานนามพิพิธภัณฑ์ใหม่ว่า “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนก ชลพัฒน์” มีความหมายว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจําจังหวัดนครนายก ซึ่งพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พัฒนาการ ชลประทานของจังหวัด ปัจจุบันพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครนายก พระบรมชนกชลพัฒน์ แบ่งนิทรรศการออกเป็น 4 ส่วน ตามอาคารจัดแสดง 4 อาคาร ได้แก่
อาคาร 1 ปฐมบทการสร้างเขื่อนขุนด่าน
อาคาร ๑ ปฐมบทการสร้างเขื่อนขุนด่าน จัดแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับปัญหาสภาพแวดล้อมภัยแล้ง และ อุทกภัยที่จังหวัดนครนายกประสบ รวมถึงข้อมูลทางภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทําให้เกิดปัญหาและนํามาสู่การ จัดตั้งโครงการจัดการน้ําในพระราชดําริหลายโครงการเพื่อแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน


อาคาร 2 อดีตชลประทานถึงเขื่อนขุนด่านปราการชล
อาคาร ๒ อดีตชลประทานถึงเขื่อนขุนด่านปราการชล จัดแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติของระบบ ชลประทานโลกรวมไปถึงภายในประเทศ ข้อมูลและหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ภายในจังหวัด นครนายก รวมถึงประวัติความเป็นมาของเขื่อนขุนด่านปราการชล


อาคาร 3 พระบารมีปกเกล้าชาวนครนายก
อาคาร ๓ พระบารมีปกเกล้าชาวนครนายก จัดแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในส่วนของการเสด็จพระราชดําเนิน เยี่ยม ราษฎร ในพื้นที่ ของ จังหวัดนครนายก ถึง 12 ครั้ง การแก้ไขปัญหาความเป็นอยู่ของราษฎรด้วยพระอัจฉริยภาพในการบริหารจัดการน้ํา และโครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดําริอื่นๆอีกด้วย


อาคาร 4 น้อมสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ
อาคาร ๔ น้อมสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ จัดแสดงเนื้อหาเกี่ยวกับพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โครงการพระราชดําริ ที่โดดเด่น รวมไปถึงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพทั้งภายในจังหวัดนครนายก และกรุงเทพมหานคร
